Sunday, 26 March 2023

JMART ทุ่ม 1,200 ล้านบาท ซื้อหุ้น “สุกี้ตี๋น้อย” 30% เสริมทัพธุรกิจอาหาร

เว็บไซต์ thebangkokinsight ได้รายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) (JMART) มีมติอนุมัติให้เข้าลงทุน และลงนามในสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าลงทุนใน สุกี้ตี๋น้อย บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด (BNN) ซึ่งประกอบธุรกิจร้านอาหาร จำนวน 352,941 หุ้น คิดเป็น 30% ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด

ทั้งนี้ ถือว่าเป็นการซื้อหุ้นสามัญจากผู้ถือหุ้นเดิม จำนวน 176,471 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 15% และซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ BNN จำนวน 176,470 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 15% มูลค่าลงทุนรวมไม่เกิน 1,200 ล้านบาท โดยดีลนี้คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในไตรมาส 4/2565 ที่จะถึงนี้

JMART ทุ่ม 1,200 ล้านบาท

สำหรับ BNN เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจร้านอาหารประเภทสุกี้ ภายใต้แบรนด์ สุกี้ ตี๋น้อย

ในปัจจุบันมีสาขาทั้งหมด 42 สาขาในประเทศ โดยมีแผนธุรกิจในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปี 2564 ผลการดำเนินงานของ BNN มีรายได้รวมทั้งหมด 1,572 ล้านบาท กำไรสุทธิ 148 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 9.41% มีอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) อยู่ที่ 55.80% สะท้อนการเป็นบริษัทที่สามารถสร้างผลตอบแทนในระดับสูง และมีโอกาสในการเติบโตอีกมากภายในอนาคต

นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา CEO บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART ได้เปิดเผยว่า การเข้าลงทุนในครั้งนี้ นับเป็นการเดินหน้าตามกลยุทธ์ Technology Investment Holding Company (T-IHC)

ขณะที่กลุ่มบริษัทเจมาร์ทในฐานะที่มีความชำนาญทางด้านการค้าปลีก การเงิน และก็เทคโนโลยี ซึ่งจะช่วยให้พันธมิตรทางการค้า BNN มีการเติบโตในด้านผลการดำเนินงานให้ได้ตามเป้าหมาย พร้อมทั้งช่วยดันการขยายสาขาไปยังพื้นที่ที่มีศักยภาพ ทั้งกรุงเทพ และต่างจังหวัด รวมไปถึงแผนการเข้าระดมทุนในตลท.

นอกเหนือจากนี้ บริษัทยังได้เล็งเห็นว่า ธุรกิจร้านอาหารของ BNN เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ และมีโอกาสในการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถในการสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ภายหลังจากการเข้าทำธุรกรรม รวมไปถึง การต่อยอดพันธมิตรทางธุรกิจ และก่อให้เกิดการผนึกกำลัง Ecosystem ที่จะมีความแข็งแรงขึ้นและมีพอร์ตธุรกิจกลุ่ม Food & Beverage เพิ่มเติม

“หลังจากผสานความร่วมมือ นำเทคโนโลยีเข้ามาเสริมทัพ จะสนับสนุนให้ BNN มีความพร้อมในการขยายสาขาได้อย่างก้าวกระโดด รวมทั้งการขยายธุรกิจร้านอาหารแบรนด์ใหม่ และขยายสาขาในต่างจังหวัด และต่างประเทศ”

ขณะเดียวกัน ยังเกิดเป็นความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ภายในกลุ่มบริษัท อาทิ การโฆษณาผ่านสื่อช่องทางของบริษัท และนำเอาเทคโนโลยีที่บริษัทมี ได้แก่ เทคโนโลยีทางด้าน CRM และ Promotion ที่นำมาสู่การเติบโตทางธุรกิจของกลุ่มบริษัท สร้างโอกาสในการขยายธุรกิจประเภทค้าปลีกทั้งในกลุ่มอาหาร เทคโนโลยี และพลังงานทดแทน

ในปัจจุบัน JMART ยังได้มีการหาพันธมิตรในธุรกิจค้าปลีก การเงิน และเทคโนโลยี มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อยอด Ecosystem สามารถผลักดันในอนาคตเติบโตแบบก้าวกระโดด ทะยานสู่เป้าหมายมูลค่ากิจการรวมกลุ่มบริษัทที่ 5 แสนล้านบาท ในปี 2567

JMART

ประวัติ Jaymart

บริษัทก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2531 โดยนายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา และนางสาวยุวดี พงษ์อัชฌา บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกด้วยทุนจดทะเบียน 2,000,000 บาทโดย
ในตอนแรกขายเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบผ่อนชำระ ต่อมา บริษัท ได้รุกเข้าไปสู่ตลาดค้าส่ง ด้วยผลิตภัณฑ์หลัก เช่น ทีวี, เครื่องเล่นวิดีโอ และเครื่องปรับอากาศ ในปี 2535 บริษัท ได้เริ่มดำเนินธุรกิจการค้าปลีกโทรศัพท์มือถือและจำหน่ายโทรศัพท์มือถือโดยการขยายร้านโทรศัพท์มือถือในห้างสรรพสินค้าหลักๆ หลายแห่งในไทย

ในปี2537 บริษัทได้เริ่มดำเนินธุรกิจติดตามหนี้ เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินการติดตามหนี้สำหรับสถาบันการเงินและผู้ประกอบการ

ในปี2542 บริษัทได้ก่อตั้งธุรกิจให้เช่าพื้นที่ไอทีภายใต้แบรนด์ “IT Junction”

ในปี2552 บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือชื่อย่อหลักทรัพย์ “JMART” ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)และเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 75 ล้านหุ้นในราคา 1.80 บาท / หุ้นเพื่อเสนอขายหุ้น IPO มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (IPO) 540 ล้านบาททุนชำระแล้ว 300 ล้านบาท (มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท / หุ้น)

ในวันที่ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 บริษัท มีทุนชำระแล้ว 906,612,007 หุ้นมูลค่าตลาด 19,074 ล้านบาท หรือ JMART เติบโตขึ้น 35 เท่าของมูลค่า บริษัท ในรอบ 11 ปีที่จดทะเบียนในตลท.

ในปัจจุบัน เจ มาร์ท ดำเนินธุรกิจบริษัทโฮลดิ้ง ที่ได้ลงทุนในบริษัทย่อยที่มีศักยภาพ 6 แห่งและ บริษัทร่วมทุน 1 แห่ง โดยมุ่งเน้นไปที่การเงินเพื่อการค้าปลีกและรายย่อย ด้วยความร่วมมือ (Synergy) และการนำเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อผู้บริโภค

บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด (BNN)

จุดเริ่มต้น สุกี้ตี๋น้อย

ร้านสุกี้ตี๋น้อย เริ่มมาจากไอเดียการทำธุรกิจของ “คุณนัทธมน พิศาลกิจวนิช” ผู้บริหารสาวในวัยไม่ถึง 30 ซึ่งครอบครัวของเธอเคย มีประสบการณ์การทำธุรกิจร้านอาหาร “เรือนปั้นหยา” มาแต่ก่อน แต่ก็มี Pain Point ในเรื่องรักษาคุณภาพของรสชาติอาหารให้คงที่เมื่อต้องขยายสาขาจำนวนมาก เพราะด้วยลักษณะธุรกิจที่ต้องทำอาหารเสิร์ฟจานต่อจาน

คุณนัทธมน ได้เริ่มต้นมองหาธุรกิจร้านอาหารที่สามารถควบคุมมาตรฐานรสชาติได้ง่าย ไม่ว่าลูกค้าจะไปใช้บริการที่สาขาไหนก็ตามแต่ รสชาติอาหารก็เหมือนกัน ซึ่งร้านสุกี้ ชาบู สไตล์บุฟเฟ่ต์ สามารถตอบโจทย์เรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี จนเป็นร้านสุกี้ตี๋น้อยในปัจจุบัน สุกี้ตี๋น้อยมีสาขาในปัจจุบันทั้งหมด 42 สาขา บุฟเฟ่ต์ สุกี้ 219 บาท(ราคานี้ยังไม่รวมเครื่องดื่มเเละภาษีมูลค่าเพิ่ม7%) ซึ่งเป็นราคาที่จับต้องได้ของคนทุกๆกลุ่มทุกๆวัย

สุกี้ตี๋น้อย 42 สาขา

The Sense ปิ่นเกล้า
มาบุญครอง
The Paseo กาญจนาภิเษก
ซีคอนบางเเค
บิ๊กซีเพชรเกษม
อนุสาวรีย์ชัย
พหลโยธิน 19
รัตนาธิเบศร์
เพชรเกษม 69/1
เลียบทางด่วน
แจ้งวัฒนะ
ลาดพร้าววังหิน
รัชดา18
สวนเพลินมาร์เก็ต
ออนติวานนท์
เกษตร-นวมินทร์
รามอินทรา 23
ศรีนครินทร์ มาร์เก็ต (Supreme)
ราชพฤกษ์ ปั๊มคาลเท็กซ์
บ้านบางเขน
มีนบุรี
ศรีนครินทร์-สมุทรปราการ
เลียบด่วน2 (เซี่ยงไฮ้ ปิ้งย่าง)
เจ้าคุณ​วิลล่า
ลาดกระบัง 24/1
เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์
พหลโยธิน-วัชรพล
ตะวันนา บางกะปิ
JC Mall นวมินทร์
ลำลูกกา คลอง 2
The Alley รามอินทรา กม.9
ธนบุรี
The Fourth พุทธมณฑลสาย4
I’m Park
The Jas Green Khubon
โอโซนวัน – สรงประภา
Mingle Mall รังสิต
สายไหมอเวนิว
Rain Forest ถนนกิ่งแก้ว
โลตัส คลอง4
Porto Chino
Jas Urban ศรีนครินทร์